AI ฉลาดได้ด้วยสิ่งนี้! ทำความรู้จักกับ Large Language Model (LLM) มันสมองของ AI
Credit: Freepik.com
เคยสงสัยไหมว่าทำไมโปรแกรมช่วยเหลือที่ใช้ AI ในการประมวลผลอย่าง ChatGPT หรือ Gemini ถึงตอบคำถามของเราได้อย่างเป็นธรรมชาติ ตรงตามที่ใจคิด และอ่านแล้วไม่รู้สึกเหมือนหุ่นยนต์เหมือนโปรแกรมอื่น ๆ ที่เคยเจอมาก่อน คำตอบก็คือ AI ที่ใช้ในโปรแกรมเหล่านั้นได้รับการฝึกฝนมาแล้วนั่นเอง เรียกว่า Large Language Model หรือ LLM ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ LLM กันว่ามันต่างจาก AI รูปแบบอื่นอย่างไร สร้างขึ้นมาได้อย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
Credit: Freepik.com
Large Language Model หรือ LLM คืออะไร?
Large Language Model (LLM) หรือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ เป็น AI ประเภทหนึ่งที่อยู่ในตระกูลของ Generative AI ที่สามารถสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาเองได้โดยไม่เหมือนการคัดลอกข้อความในฐานข้อมูลที่มีอยู่ LLM สามารถสร้างข้อมูลประเภทตัวอักษรที่สามารถปรับระดับภาษาได้ตามผู้สนทนาและสามารถให้คำตอบได้ตรงตามที่เราต้องการมาก เหมือนกำลังคุยกับคู่หูที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเลย
LLM นั้นเติบโตมาจากการฝึกฝนที่เรียกว่า Machine Learning หรือระบบการเรียนรู้ของเครื่องจักร ซึ่งผู้พัฒนาจะป้อนคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และสอนให้ LLM สั่งสมข้อมูลด้วยตัวเองจากการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อทำให้ AI รู้จักข้อมูลที่ทันสมัยและหลากหลาย แต่ระดับการเรียนรู้ที่ LLM ผ่านมานั้นลงลึกมากในระดับที่ทำให้ AI เข้าใจความหมายในหลากหลายมิติที่ซับซ้อนของประโยค ตั้งแต่คำไปจนถึงตัวอักษรและเครื่องหมาย การเรียนรู้ที่ลงลึกเช่นนี้เรียกว่า Deep Learning นั่นเอง โดย AI ก็มีระบบประสาทคล้ายสมองมนุษย์ที่เรียกว่า Neural Network ซึ่งใช้สำหรับการตีความ วิเคราะห์ความหมาย และประมวลผลข้อมูลที่ได้มาให้ตรงกับบริบท รวมถึงเจตนาที่ผู้ใช้ต้องการสื่อมากที่สุด
พอเรียนที่จะรู้แล้ว ก็ต้องเรียนที่จะสื่อสารด้วย เพื่อที่จะสามารถสร้างประโยคตอบโต้ขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ LLM จะได้รับการฝึกวิเคราะห์ตามความเป็นไปได้ของคำตอบที่เหมาะสม และสร้างเป็นชุดข้อมูลใหม่ขึ้นมาด้วยการเรียบเรียงหน่วยย่อยของประโยคที่เรียกว่า Prompt ในหลากหลายรูปแบบ จากนั้นก็นำเสนอออกมาในรูปแบบของตัวอักษร แน่นอนว่าช่วงแรก ๆ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นข้อความแปลก ๆ ที่คนอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็ได้ Machine Learning Engineer เป็นเหมือนครูที่ให้คะแนนผลงานของ LLM และพัฒนาระบบจนกว่าจะพูดคุยรู้เรื่อง ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นและตรงประเด็นมากขึ้น ระหว่างที่ได้รับการขัดเกลานั้นเอง LLM ก็จะเรียนรู้วิธีการพัฒนาตัวเองไปด้วยและทำให้ตัวเองเก่งขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถตอบโต้กับมนุษย์ได้ดีอย่างในทุกวันนี้
Credit: Freepik.com
LLM สามารถนำไปใช้งานอย่างไรได้บ้าง?
- แปลภาษา
การแปลภาษาของ AI ชนิดนี้เรียกได้ว่ามีความแม่นยำที่สูงมาก เนื่องจากมีคลังข้อมูลคำศัพท์ที่หลากหลายและครอบคลุมเท่าที่โลกออนไลน์จะมีได้ เข้าใจหลักไวยากรณ์อย่างลงลึก และสามารถสร้างคำหรือประโยคได้ออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ - สนทนา
ผู้ใช้สามารถพูดคุยกับ LLM ได้อย่างราบรื่น โดยบทสนทนาที่ได้รับจากโปรแกรมนี้จะสอดคล้องไปกับความต้องการของผู้ใช้ เพราะมันจะพยายามหาคำตอบให้ได้ตามที่เราต้องการ (นอกจากคำถามจะมีการละเมิดเงื่อนไขบางอย่างของโปรแกรม เช่น ความรุนแรง เป็นต้น) - สร้างสรรค์งานเขียน
AI ชนิดนี้เข้าใจรูปแบบของงานเขียนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโคลงฉันท์กาพย์กลอน บทความวิชาการ ไปจนถึงการเขียนโค้ด จึงทำให้โปรแกรมสามารถสร้างงานเขียนได้ตามโทนของภาษาที่ผู้ใช้กรอกเข้าไป - สรุปความ
เนื่องจากความสามารถทางภาษาของ LLM นั้นรวมถึงการจับใจความของเนื้อหาที่ส่งเข้าไปด้วย ทำให้ AI ชนิดนี้สามารถดึงใจความสำคัญของข้อความยาว ๆ เพื่อนำมาสรุปย่อได้เช่นกัน และในทางกลับกัน มันก็สามารถขยายความจากข้อมูลสั้น ๆ ได้ด้วย
ประโยชน์ของ LLM ในธุรกิจมีอะไรบ้าง?
- พัฒนาการบริการลูกค้า
ธุรกิจสามารถพัฒนาการตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยระบบ LLM เนื่องจากสามารถปรับแต่งบทสนทนาได้ตามที่ลูกค้าต้องการ และยังช่วยค้นหาข้อมูลให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแค่นั้น ยังรองรับลูกค้าได้หลากหลายสัญชาติตามจำนวนภาษาที่ AI ชนิดนี้ได้เรียนรู้ - พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ถึงแม้ว่าจะทำได้ในระดับพื้นฐานถึงปานกลาง แต่ LLM ก็สามารถช่วยประหยัดเวลาในการสร้างโค้ดเพื่อใช้ประกอบในการสร้างโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันได้ โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่รองรับก็ค่อนข้างที่จะครอบคลุมต่อการใช้งานส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น C, R, Java หรือแม้แต่ Python - พัฒนาการสร้างคอนเทนต์
เพราะว่า AI ชนิดนี้เรียนรู้คลังคอนเทนต์ในโลกออนไลน์จำนวนมากไว้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ LLM วิเคราะห์ทิศทางของเนื้อหาที่กำลังได้รับความนิยม รูปแบบการเขียน หรือประเด็นที่จะนำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง ยังไม่รวมถึงการสร้างแบบร่างสำหรับพัฒนาเป็นต้นฉบับต่อไปด้วย
Credit: Freepik.com
LLM เรียกได้ว่าเป็นอนาคตของแวดวงเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกมากมายเพราะช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดเวลาและกำลังคนที่ต้องใช้ในการทำงานเป็นอย่างมาก และยังสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาให้เทคโนโลยีนี้ก้าวไปอีกขั้นได้ที่ วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น (TNIC) สถาบันที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและการบริหารธุรกิจ ภายใต้หลักสูตรที่เกี่ยวข้องถึง 3 หลักสูตรด้วยกัน
1. สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data Science and Artificial Intelligence) มุ่งเน้นการพัฒนาและการใช้ฐานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในเทคโนโลยี AI และธุรกิจต่าง ๆ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://tnic.tni.ac.th/th/dsa-program-th/
2. สาขาวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยี AI และนวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงโลกดิจิทัลกับการดำเนินชีวิตอย่างราบรื่น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://tnic.tni.ac.th/th/dge-program-th/
3. สาขาธุรกิจระหว่างประเทศและการเป็นผู้ประกอบการ (International Business and Entrepreneurship) เปิดประตูสู่โลกธุรกิจและโอกาสในระดับนานาชาติด้วยไอเดียที่แตกต่าง เรียนรู้การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับธุรกิจ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://tnic.tni.ac.th/th/ibn-program-th/
แหล่งข้อมูล