0-2763-2600 Ext. 2652, 2409, 2410

ปลดล็อกความฝัน สร้างเกมด้วยตัวเอง! ก้าวสู่เส้นทางนักพัฒนาเกมมืออาชีพ

Credit: Adobe.com

เคยไหมที่คุณนั่งเล่นเกมแล้วรู้สึกอยากสร้างเกมของตัวเองขึ้นมาบ้าง? ฝันของคุณเป็นจริงได้ง่ายกว่าที่คิด! ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปสัมผัสกับโลกของการสร้างเกม เรียนรู้พื้นฐานการคิด โปรแกรมที่ใช้ และความรู้ที่จำเป็นสำหรับการสร้างเกมด้วยตัวของคุณเอง

Credit: Adobe.com

พื้นฐานการคิดในการสร้างเกมมีอะไรบ้าง?

การสร้างเกมเริ่มต้นจากการที่คุณมีไอเดียที่ชัดเจนและมีเรื่องราวที่จะสื่อสารกับผู้เล่น เกมที่ดีมักมีการออกแบบเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและมีการพัฒนาเรื่องราวของตัวละคร นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงระบบการเล่น (Gameplay Mechanics) กฎเกณฑ์ และกติกาที่ท้าทาย

เกมที่ดีและสนุกเกิดขึ้นจาก “การคิดวิเคราะห์” ซึ่งรวมถึงการฝึกคิดอย่างมีระบบ ตั้งคำถาม วางแผน และแก้ปัญหาอย่างมีตรรกะ วิธีคิดเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบกลไก ด่าน ตัวละคร เนื้อเรื่อง และระบบต่าง ๆ ภายในเกมของคุณอย่างเป็นเหตุเป็นผล นำมาผนวกกับ “ความคิดสร้างสรรค์” ในการจินตนาการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเกม ตั้งแต่การออกแบบตัวละคร ฉาก ไอเท็ม รวมไปถึงการเล่าเรื่อง ซึ่งไอเดียดี ๆ สามารถสะสมได้ด้วยวิธีการดังนี้

  • สังเกตสิ่งรอบตัว: มองหาแรงบันดาลใจจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว อาจจะเป็นหนังสือ ภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือแม้แต่ประสบการณ์ส่วนตัว
  • เล่นเกมเยอะ ๆ: วิเคราะห์เกมที่คุณชื่นชอบว่าอะไรทำให้เกมนั้นสนุก อะไรคือจุดเด่น อะไรคือจุดอ่อน

Credit: Adobe.com

โปรแกรมสร้างเกมยอดนิยมมีอะไรบ้าง?

ในอดีต นักพัฒนาเกมอาจต้องใช้ความรู้ด้านโปรแกรมมิ่งที่ซับซ้อน แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นทำให้เครื่องมือสร้างเกม (Game Engine) ได้รับการพัฒนาจนใช้งานง่าย ช่วยให้คุณเนรมิตเกมในฝันขึ้นมาได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดตั้งแต่ต้น ซึ่ง Game Engine ที่เป็นที่นิยมมีดังนี้

1. Unity เครื่องมือสร้างเกมสุดฮิตที่ยืดหยุ่นและครบครัน สามารถเนรมิตเกมได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น 2D หรือ 3D ทั้งเกมสำหรับ PC คอนโซล มือถือ และ VR/AR Unity มีผู้ใช้งานมากมายทั่วโลก และมีชุมชน (Community) ที่แข็งแกร่งที่เหล่านักพัฒนาเกมมาแชร์ความรู้และประสบการณ์ในวงการจำนวนมาก

    ตัวอย่างเกมดังที่สร้างจาก Unity

    • Pokémon Go
    • Among Us

    2. Unreal Engine เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์เกมที่ทรงพลังด้วยกราฟิกสวยสมจริง มีระบบ Procedural Content Generation Framework ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างเนื้อหาเกมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเขียนโค้ดเพิ่มเติม เหมาะสำหรับการสร้างฉากขนาดใหญ่ เช่น ป่าไม้ หรือเมือง ผู้ใช้สามารถลงรายละเอียดในเกมได้ตั้งแต่ความหนาแน่นของวัตถุ แสงเงา ไปจนถึงรูปแบบและสีสัน มาพร้อมเทคโนโลยี Motion Capture ที่ ช่วยให้ตัวละครในเกมเคลื่อนไหวและแสดงอารมณ์ผ่านสีหน้าได้อย่างสมจริง

    ตัวอย่างเกมดังที่สร้างจาก Unreal Engine

    • Diablo 4
    • The Lords of the Fallen

    Credit: Adobe.com

    3. Game Maker เครื่องมือที่มีหน้าตาการใช้งานที่เรียบง่าย จึงเหมาะสำหรับมือใหม่เป็นอย่างมาก ผู้ใช้สามารถสร้างเกมได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องเขียนโค้ด เพียงลากและวางไอคอนคำสั่งต่าง ๆ บนหน้าจอ มีระบบและเครื่องมือที่สะดวกครบครัน สามารถรองรับการสร้างเกม 2D ได้ทุกประเภท

    ตัวอย่างเกมดังที่สร้างจาก Game Maker

    • Forager
    • Chicory: A Colorful Tale

    4. CryEngine เครื่องมือสร้างเกมที่ขึ้นชื่อเรื่องยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว เพราะการพัฒนาเกมบน CryEngine ครั้งเดียวสามารถนำไปใช้งานได้ทั้งบน PC คอนโซล และมือถือ รวมถึงรองรับเทคโนโลยี VR/AR สร้างกราฟิกได้สมจริง สามารถจำลองการเคลื่อนไหว แรงโน้มถ่วง และแสงสะท้อนได้อย่างแม่นยำ ช่วยมอบประสบการณ์ที่เหมือนจริงราวกับอยู่ในเกมให้กับผู้เล่น เหมาะสำหรับการพัฒนาเกม 3D สุดอลังการ

    ตัวอย่างเกมดังที่สร้างจาก CryEngine

    • Far Cry
    • Crysis

    Credit: Adobe.com

    การสร้างเกมต้องมีความรู้อะไรบ้าง?

    การสร้างเกมนั้นต้องใช้ความรู้และทักษะหลากหลายแขนงผสมผสานกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเกมที่ต้องการสร้าง โดยหลัก ๆ แบ่งออกเป็นดังนี้

    1. ทักษะการออกแบบ (Design Skills)

    • การออกแบบเกม (Game Design): ทักษะนี้สำคัญมาก เป็นพื้นฐานที่กำหนดรูปแบบการเล่น เนื้อเรื่อง ตัวละคร ฉาก และระบบต่าง ๆ ของเกม ผู้ออกแบบเกมต้องสามารถถ่ายทอดไอเดียออกมาได้อย่างชัดเจน
    • การออกแบบกราฟิก (Graphic Design): ทักษะนี้ใช้สำหรับออกแบบตัวละคร ฉาก ไอเท็ม จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบ การใช้สี และโปรแกรมกราฟิก
    • การออกแบบเสียง (Sound Design): ทักษะนี้ใช้สำหรับสร้างเสียงประกอบภายในเกม เช่น เสียงดนตรี เสียงเอฟเฟกต์ และเสียงตัวละคร จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการบันทึกเสียง การตัดต่อเสียง และซอฟต์แวร์สร้างเสียง

    2. ทักษะการเขียนโปรแกรม (Programming Skills)

    • การเขียนโปรแกรม: ทักษะนี้จำเป็นสำหรับการเขียนโค้ดที่ทำให้เกมทำงานไปตามที่เราต้องการ ภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้สำหรับพัฒนาเกมมีทั้ง C++, C#, Java และ Python ขึ้นอยู่กับลักษณะของเกมที่สร้าง
    • ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์และตรรกะ: ทักษะนี้จำเป็นสำหรับการคำนวณและเขียนโปรแกรมที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ในเกม เช่น ระบบฟิสิกส์ ระบบ AI ระบบการเคลื่อนไหวของตัวละคร

    3. ทักษะอื่น ๆ

    • การเล่าเรื่อง (Storytelling): ทักษะนี้สำคัญสำหรับเกมที่มีเนื้อเรื่อง ผู้เขียนบทเกมต้องสามารถเขียนเรื่องราวที่น่าสนใจ ดึงดูดผู้เล่น และสอดคล้องกับรูปแบบการเล่นเกม
    • การทดสอบเกม (Game Testing): ทักษะนี้จำเป็นสำหรับการหาบั๊กและข้อผิดพลาดในเกม โดยต้องเล่นเกมอย่างละเอียด และบันทึกปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำไปแก้ไข
    • การทำงานเป็นทีม (Teamwork): เพราะในการสร้างเกมนั้น คุณอาจต้องร่วมงานกับนักพัฒนาเกมหลากหลายท่านเพื่อช่วยเสริมส่วนที่คุณไม่ถนัดและทำให้เกมออกมาใช้งานได้จริงภายในเวลาที่หวังไว้ ซึ่งต้องการการสื่อสารและแชร์ไอเดียที่ดีเพื่อช่วยให้ผลงานของคุณประสบความสำเร็จได้

    Credit: Adobe.com  

    จริงอยู่ว่าเทคโนโลยีสมัยนี้ช่วยให้เราสร้างเกมได้ง่ายขึ้น แต่การสร้างเกมที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยทักษะขั้นสูงหลายอย่าง ประสบการณ์ และคำแนะนำจากมืออาชีพในวงการอย่างใกล้ชิด มุ่งหน้าสู่การเป็นนักสร้างเกมมือโปร พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแบบตัวต่อตัว มาเรียนกับเราเลยที่สาขาวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) วิทยาลัยนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNIC) ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://tnic.tni.ac.th/th/dge-program-th/

    แหล่งที่มา

    Sanook.com

    Kongruksiam.medium.com

    Dynamicwork.net

    Jib.co.th

    Online-station.net

    Starfishlabz.com

    Techupth.com

    Youtube.com

    Intel.com