หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมดิจิทัล)
ชื่อย่อ (ไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมดิจิทัล)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สาขาวิศวกรรมดิจิทัล (DGE) เป็นสาขาวิชาที่ทันสมัยที่จะหล่อหลอมนักศึกษาให้ทำงานได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านดิจิทัล มีการผสมผสานดิจิทัลเข้ากับวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมวัสดุ พร้อมทักษะที่ Industrial Internet of Things (IIoT), การวิเคราะห์ข้อมูลด้านวิศวกรรมเชิงลึก, คลาวด์คอมพิวติ้ง, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), สภาพแวดล้อมเสมือนจริง (VR), ความผสานความเป็นจริงและความเสมือนจริง (AR), การผลิตหุ่นยนต์, ระบบอัตโนมัติและโรงงานอัจฉริยะ, เมคคาทรอนิกส์, การพิมพ์ 3 มิติ, ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ, ระบบฝังตัวอัจฉริยะ, และการบูรณาการระบบ เพื่อพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร การประเมินทางเศรษฐกิจและรูปแบบธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่จะถ่ายทอดให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- เป็นหลักสูตรสหสาขาวิชาชีพที่ทันสมัย ที่รวมเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมวัสดุ กับ IIoT
- ทักษะพื้นฐานของการเขียนโค้ดข้อความและภาพ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C และ Python และภาษาโปรแกรมที่มีกระบวนทัศน์จากบนลงล่างและกระบวนทัศน์เชิงวัตถุ พร้อมกับทักษะการทำงานโดยใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาไทย
- การสนับสนุนสำหรับการพัฒนาต้นจากความคิดสร้างสรรค์และความรู้พื้นฐานด้วยการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้ Project-Based Learning (PBL) และปรัชญา Monodzukuri (Application-Based) ของญี่ปุ่น
- ผลักดันสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพจากความคิดริเริ่มของนักศึกษาและอาจารย์ และการบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ ด้วยสภาพแวดล้อมดิจิทัลในกิจกรรมการศึกษาพร้อมบรรยากาศการเรียนและนันทนาการ
- เรียนรู้จากประสบการณ์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นพันธมิตรร่วมกับ TNIC โดยมีการไปฝึกอบรม เรียนรู้นอกสถานที่ และเชื่อมโยงกับศิษย์เก่าและสถาบันพันธมิตร
- โอกาสสำหรับทุนการศึกษาและการจ้างงานในต่างประเทศ
- อุตสาหกรรมระบบสมองกลฝังตัว พลังงาน IIoT โรงงานอัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ
- องค์กรคอมพิวเตอร์วิทัศน์และ Metaverse
- System Integrator ในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและเมืองอัจฉริยะ
- การเขียนโปรแกรมเกมและแอปพลิเคชั่นเสมือนจริง
- เจ้าของธุรกิจ อาทิ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่ชาญฉลาด
- ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล การวางแผน และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
- นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์
โครงสร้างหลักสูตร รวม 130 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาภาษา 24 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน 27 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาบังคับสาขา 48 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมดิจิทัล 7หน่วยกิต
2.4 กลุ่มวิชาเลือกสาขา 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต