หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมดิจิทัล)

ชื่อย่อ (ไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมดิจิทัล)


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

         สาขาวิศวกรรมดิจิทัล (DGE) เป็นสาขาวิชาที่ทันสมัยที่จะหล่อหลอมนักศึกษาให้ทำงานได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านดิจิทัล มีการผสมผสานดิจิทัลเข้ากับวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมวัสดุ พร้อมทักษะที่ Industrial Internet of Things (IIoT), การวิเคราะห์ข้อมูลด้านวิศวกรรมเชิงลึก, คลาวด์คอมพิวติ้ง, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), สภาพแวดล้อมเสมือนจริง (VR), ความผสานความเป็นจริงและความเสมือนจริง (AR), การผลิตหุ่นยนต์, ระบบอัตโนมัติและโรงงานอัจฉริยะ, เมคคาทรอนิกส์, การพิมพ์ 3 มิติ, ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ, ระบบฝังตัวอัจฉริยะ, และการบูรณาการระบบ เพื่อพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร การประเมินทางเศรษฐกิจและรูปแบบธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่จะถ่ายทอดให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง 

  1. เป็นหลักสูตรสหสาขาวิชาชีพที่ทันสมัย ที่รวมเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมวัสดุ กับ IIoT 
  2. ทักษะพื้นฐานของการเขียนโค้ดข้อความและภาพ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C และ Python และภาษาโปรแกรมที่มีกระบวนทัศน์จากบนลงล่างและกระบวนทัศน์เชิงวัตถุ พร้อมกับทักษะการทำงานโดยใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาไทย
  3. การสนับสนุนสำหรับการพัฒนาต้นจากความคิดสร้างสรรค์และความรู้พื้นฐานด้วยการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้ Project-Based Learning (PBL) และปรัชญา Monodzukuri (Application-Based) ของญี่ปุ่น
  4. ผลักดันสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพจากความคิดริเริ่มของนักศึกษาและอาจารย์ และการบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ ด้วยสภาพแวดล้อมดิจิทัลในกิจกรรมการศึกษาพร้อมบรรยากาศการเรียนและนันทนาการ
  5. เรียนรู้จากประสบการณ์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นพันธมิตรร่วมกับ TNIC โดยมีการไปฝึกอบรม เรียนรู้นอกสถานที่ และเชื่อมโยงกับศิษย์เก่าและสถาบันพันธมิตร
  6. โอกาสสำหรับทุนการศึกษาและการจ้างงานในต่างประเทศ
  1. อุตสาหกรรมระบบสมองกลฝังตัว พลังงาน IIoT โรงงานอัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ
  2. องค์กรคอมพิวเตอร์วิทัศน์และ Metaverse
  3. System Integrator ในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและเมืองอัจฉริยะ
  4. การเขียนโปรแกรมเกมและแอปพลิเคชั่นเสมือนจริง
  5. เจ้าของธุรกิจ อาทิ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่ชาญฉลาด
  6. ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล การวางแผน และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
  7. นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์

โครงสร้างหลักสูตร รวม 130 หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต

1.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต

1.3 กลุ่มวิชาภาษา 24 หน่วยกิต

2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน 27 หน่วยกิต

2.2 กลุ่มวิชาบังคับสาขา 48 หน่วยกิต

2.3 กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติทางวิศวกรรมดิจิทัล 7หน่วยกิต

2.4 กลุ่มวิชาเลือกสาขา 12 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี  ไม่น้อยกว่า 6  หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนทั้งหมดโดยประมาณ 452,000 บาท / 4 ปี